วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


                                             
 บทที่   
                            
                                   เพลงนี้มีประวัติ
                          
                           
                             "โอ้ละน้อ   ดวงเดือนเอย
                     
                        ข้อยมาเว้า        รักเจ้าสาวคำดวง
                 โอ้ดึกเเล้วหนอ    พี่ขอลาล่วง
                       อกพี่เป็นห่วง  รักเจ้าดวงเดือนเอย"
         
เพลงนี้มีประวัติ

              
 เพลง ลาวดวงเดือน อันเเสนไพเราะอ่อนหวานเพลงนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิชัยไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิม ว่า พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์
                เหตุที่ทำให้ทรงนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนขึ้นมีว่า ราวปี พ.ศ.๒๔๔๖
เมื่อมีพระชันษา ๒๑ ปี พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  ได้เสด็จขึ้นไป
นครเชียงใหม่   ได้พบรักกับเจ้าชมชื่น  ธิดาของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับ
เจ้าคำกล่าวกันว่าเป็นรักครั้งเเรกที่ไม่อาจทรงหักห้ามพระทัยได้
จึงทรงขอให้พระยานริศราชกิจ
                 พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เข้าทรงานในกระทรวงเกษตราธิการ
ทรงรับผิดชอบการเลื้ยงไหม  เป็นเหตุให้ต้องเสด็จไปตรวจเยี่ยมศูนย์
การทำไหมในมณฑลต่าง
                  เพลงนี้ได้รับความนิยมตั้งเเต่เเรก  แต่หลังจากที่พระองค์
    เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะ อันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้ และจะเป็นเพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไป แต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้ทราบ

ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม หรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕

พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมาก เมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่อง และยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ พระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลาย ตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอาราม ต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมาย เจ้านายหลายพระองค์ก็มีวงปี่พาทย์ประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรม และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งของพระองค์เรียกว่า วงพระองค์เพ็ญ ซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์ เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดี พระองค์หนึ่งด้วย ทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอ พระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมาก เพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวล เห็นภาพพจน์บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ

ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่ อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาสมัยนั้น สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมณฑลพายัพ ได้จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์ อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด็จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้ โดยให้ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครและดนตรีในคุ้มนี้ด้วย ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้ เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้อง และพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกัน ในบรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ ปรากฏว่ามี เจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปี มาร่วมในงานนี้ด้วย เล่ากันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบเปล่งปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้า จนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบร้อยอ่อนหวานน่ารัก เจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ ด้วยความงามอันน่าพิศวงประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี บังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มาก กล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึง ในความงามอันน่าพิศวงจนเกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!


ในวันต่อมา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมณฑลพายัพ เป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัดบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลายครั้งหลายหน

นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหลในเจ้าหญิงชมชื่นเป็นยิ่งนัก พระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์

แต่การเจรจาสู่ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อน และตามขนบธรรมเนีมประเพณีของราชสกุลนั้น พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะทำการอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อน เพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ หากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น

เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อเหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์ นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบ พระองค์ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้งทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจ ความทุกข์โศกใดจะเทียมเทียบเปรียบปาน

เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัย คงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์

ครั้นถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด เจ้านาชั้นผู้ใหญ่หลาพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลต่างต่าง นานา 

เป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ

คราใดสายลมเหนือพัดมา... พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น... เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหม ทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษ เพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ว่า

อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรี
พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร
งามทรงงามองค์อ่อนซ้อน
ดังอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย



บทร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาส ของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้...

โอ้ละหนอ... ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย....เอ๋ย..เราละหนอ

โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมน
พี่จะทนทุกข์...ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอย
ถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย...เราละหนอ...


นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์ เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความหลัง คราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบหฤทัยให้คลายเศร้า ถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วย ลาวเจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน

กรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมาก เนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอียดอ่อน และประกอบกับพระวรกายไม่ค่อยบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนัก อีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนม์ชีพของพระองค์สั้นจนเกินไป พระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้น

เพลงลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียว ลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิต จิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง... พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้าหญิงชมชื่นผู้เลอโฉม และจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจ อยู่ในห้วงหัวใจคนไทยทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน.


ข้อคิดจากเรื่อง


   เรื่องที่อ่านมีข้อคิดหลายประการ  ดังนี้

๑.ความประทับใจซาบซิ่งกับคนรัก  อารมณ์เศร้าว้าเหว่
๒.ผู้ชื่นชมผลงานศิลปะมิได้จำกัดแต่ว่าจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมเดียว
๓.การนำผลงานที่มีอยู่เดิมมาดัดเเปลงเสริมแต่งทำให้มีผลงานสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น
๔.การศึกษาชีวประวัติของศิลปินจะทำให้ทราบที่มาของผลงานสิลปะ

  

 กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี


 ย้อน กลับไปครั้งกรุงเทพฯยังเรียกกันว่าบางกอก เปิดเมืองค้าขายกับชาวต่างชาติ พวกยุโรปเข้ามามีบทบาทในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสยามเป็นอย่างมาก ภาพพจน์ของประเทศสยามในสายตาของชาวต่างชาติในยุคนั้น จะเป็นอย่างไร ลองไปดูภาพกัน

                ภาพ พระบรมมหาราชวัง บริเวณท่ามหาราช เป็นมุมมองที่เด่นที่สุดมาถึงปัจจุบัน แต่สมัยก่อนมีเรือแจว เรือพายเยอะหน่อย แต่ปัจจุบันสูญหายไปทั้งเรือ ทั้งแพ ไม่ใช่จากการใช้งานที่ไม่สะดวกหลอกครับ สาเหตุหนึ่งจากเรือหางยาวนี่แหละ เพราะเรือหางยาววิ่งเร็ว เกิดคลื่นกระทบแรง เรือไม่มีเครื่องก็จะโคลงมาก แพก็จะโดนคลื่นซัดเสียหาย จึงไม่นิยมใช้และสูญหายไปในที่สุด
 
                หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ ลีลลูสตราซียง (
L' Illustration) ได้ นำเสนอเรื่องราวของประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นสารคดีประกอบภาพลายเส้น เล่าเรื่องราวสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในสมัยนั้น โดยบุคคลหรือนักหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นคือนายฟูร์เนอโร (Monsieur Fournereau) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยศิลปะ L' Ecole des Beaux-Arts 


            ฟู ร์เนอโร ได้เข้ามาศึกษาสภาพสังคมและอารยะธรรมของสยามประเทศอยู่ด้วยกันหลายครั้ง และเขาก็ต้องตื่นตะลึงกับพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่พิธีหนึ่ง นั่นคือ พระราชพิธีปลงพระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของวันที่ ๙ ถึง ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๑ โดยมีขบวนเกียรติยศ และประชาชนเข้าร่วมในพระราชพิธีนี้อย่างล้นหลาม และพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพ ณ พระเมรุมาศ ก็จัดได้สมพระเกียรติมาก
 




        สภาพเรือนแพริมน้ำทั่วไป

        ใน ปีพ.ศ.๑๔๓๔ ฟูร์เนอโร ได้เดินทางเข้ามากระเทศสยามอีกครั้ง เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย เขาได้เก็บข้อมูลอย่างละเอียด โดยวาดภาพและถ่ายภาพคนไทย และศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เขาสนใจกับพระปรางค์วัดแจ้งเป็นอย่างมาก ด้วยความสูงตระหง่านงดงาม และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปในแดนไกล (สมัยนั้น สิ่งก่อสร้างที่สูงขนาดนี้ก็จัดได้ว่าเป็นตึกระฟ้า ได้ทีเดียว) นอกจากนี้เขายังศึกษาเรื่องศาสนาและราชอาณาจักรสยามโบราณเป็นพิเศษ
 
 




เรือเดินทะเลของฝรั่งเศสชื่อ ลูแตง จอดอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส ที่ติดกับโรงแรมโอเรียนเตลในปัจจุบัน
 
            ใน ปีพ.ศ.๒๔๓๖ หนังสือพิมพ์ ลีลลูสตราซียง ได้ตีพิมพ์เรื่องราวของประเทศสยามว่า มีบางกอกเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของพระราชวังของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า และศาสนา บางกอกมีประชากรประมาณ 
500,000 คน เป็นเมืองที่สกปรก มีขยะและกลิ่นเหม็น ซึ่งจะพบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินหรือแม่น้ำลำคลอง (นี่ แสดงว่านิสัยมักง่ายของคนไทยนั้นมีมานานแล้วนะ อายเขาไหมล่ะ ) สำหรับทัศนียภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง ก็มียวดยานพาหนะทางน้ำเช่น เรือกำปั่น เรือพายเป็นต้น และเรือนแพสำหรับค้าขายและพักอาศัยก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณถนนเจริญกรุง ช่วงบางคอแหลม ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบางกอก ก็มีบ้านเรือนขนาดเล็กเรียงรายอยู่ทั่วไป 

        ขบวนแห่พระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ในพิธีปลงพระศพ มีขบวนเกียรติยศและประชาชนเข้าร่วมพิธีอย่างล้นหลาม
 
       ฟู ร์เนอโร ยังได้รายงานอีกว่า สยามเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา แต่คนไทยก็มีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาอื่นๆได้เช่นกัน นอกจากนี้เขายังได้ไปชมวัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ และวัดสระเกศอีกด้วย จึงได้ภาพของการเผาศพที่เกิดจากโรคระบาด ไปนำเสนอ
 

พระเมรุมาศที่ตั้งพระศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
 
        นอก จากในบางกอกแล้ว ฟูร์เนอโร ยังได้แสดงความเห็นว่า ต่างจังหวัดก็ยังมีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย กรุงเทพฯผ่านกาลเวลามา 
100 กว่า ปีก็ย่อมมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาของการพัฒนา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เปลี่ยนไปและไม่ควรเปลี่ยนไป คือสามัญสำนึกของคนไทย ที่ยังยึดมั่นในความเป็นไทย และซึมซับความเป็นไทยไว้ในสายเลือด เฉกเช่นบรรพบุรุษไทยที่ได้ดำรงมาเนิ่นนาน 

การทำพิธีเผาศพ ตอนนั้นอีแร้งก็ยังไม่สูญพันธ์ไปจากเมืองไทย ยืนคอยรับประทานอาหารโปรดอยู่เป็นแถว 


ที่มา: http://www.non-m3.blogspot.com

ที่เรียกว่าก้าวหน้า


บทที่ 8
ที่เรียกว่าก้าวหน้า


"ข้าพเจ้าคิดว่าความก้าวหน้าอยู่อยู่ที่การแสวงหา

ความรู้เพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด

เพื่อให้ตนเองเป็นคนทันสมัย และทันดลกอยู่เสมอ

และถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นอีกด้วย

ชื่อเสียงและความสรรเสริญเยินยอข้าพเจ้าไม่ปราถนา

แต่ต้องการทำงานเพื่ออุดมคติมากกว่าเพื่อเงิน

แม้เงินจะน้อยแต้ถ้ามีโอกาสก้าวหน้าในทางความรู้

ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว"



ที่เรียกว่าก้าวหน้า


        เมื่อรถแล่นผ่านโรงภาพยนตร์ ใครคนหนึ่งก็ร้องขึ้นว่า  "นั่นแนะ! เรื่องของ 'พรรณลักษมี'  เข้าฉายแล้ว คืนนี้ฉันเห้นจะต้องมาดูเสียแล้ว"
        "ฉันก็เหมือนกัน" อีกคนหนึ่ง  "เป็นแฟน 'พรรณลักามี' อ่านเรื่องนี้ในหนังสือแล้วยังติดใจไม่หาย มาทำเป้นภาพยนตร์คงจะมีชีวิตชีวาอีกไม่น้อย''

          คำว่า  ''ก้าวหน้า'' ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงย้อนหลังไปถึงเมื่อครั้งก่อนสมัยที่เราสามคน ลักษษมี วีณา และข้าพเจ้า ยังเรียนอยู่ในชั้นอุดมศึกษา ปีสุดท้ายของการเรียน เราเกิดสงสัยกันขึ้นว่า ใครจะก้าวหน้ามากกว่าใครเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพ  ข้าพเจ้าเองเป็นผู้ถามว่าที่เรียกว่าก้าวหน้าคืออย่างไร
           ลักษมีตอบทีนทีว่า
          ''สำหรับฉัน  ความก้าวหน้าคือความมีชื่อเสียงเกียรติยศปรากฎเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คนเราถ้าเกิดมาเป็นเพียงคยเล็กๆคยหนึ่งที่ไม่มีใครกล่าวขวัญถึงอย่างย่กย่องแล้ว ก็นับว่าเสียชาติ''

วีณาตอบว่า

    ''ความก้าวหน้าของฉันอยู่ที่เงิน  ฉันไม่เห็นแคร์ว่าจะไม่ชื่อเสียงหรือเปล่า มีใครรู้จักหรือไม่ ขอให้ฉันได้ทำงานในหน้าที่ดีๆ และมีหวังจะได้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็พอแล้ว เพราะว่าเงินคือหลักฐานที่มั่นคงสำหรับประกันชีวิตในอนาคต ถ้าเงินไม่เพียงพอเราจะมีชีวิตอยู่ให้อย่างไร'' 
       ข้าพเจ้าคิดว่าความก้าวหน้าอยู่ที่การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้ตนเองเป็นเป้นคนทันสมัย และทันโลกอยู่เสมอ และเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นอีกด้วย ชื่อเสียงและความสรรเสริญเยินยอข้าพเจ้าไม่ปรารถนา แต่ต้องการทำงานเพื่ออุดมคติมากกว่าเพื่อเงินแม้เงินจะน้อยแต่ถ้ามีโอกาสก้าวหน้าในทางความรู้ ข้าพเจ้าก็พอแล้ว
        เมื่อจบการศึกษา  ลักษมีไปสมัครทำงานหนังสือพิมพ์และฝึกฝนตนเองให้เป็นนักเขียน นั่นเป็นขั้นแรกของการแสวงหาชื่อเสียงข้าพเจ้ได้ข่าบ่อยครั้งว่าลักษมีย้ายจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ไปอยู่ฉบับนั้น จากฉบับนั้นไปโน้น ลักษมีทำหน้าที่เป็นนักข่าว  เป็นช่างภาพในตัวเสร็จ  และเริ่มงานเขียนหนังสืออย่างตั้งอกตั้งใจ เธอเริ่มจากเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายที่สะท้อนภาพชีวิตจริง แต่ก็ปรากฎว่าไม่เป็นที่นิยม ลักษมีจึงเปลี่ยนแนวการเขียนใหม่  เธอเริ่มเขียนนวนิยายเสียดสีสังคม ได้รับความนิยมอยู่พักเดียว คนอ่านก็เกิดเบื่อหน่าย  ลักษมีจึงเปลี่ยนมาเขียนนวนิยายเบาสมองเต็มไปด้วยความเพ้อฝันซึ่งในชีวิตจริงไม่มีวันจะเป็นไปได้ และคราวนี้นวนิยายของเธอได้รับการต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่งจากเด็กวัยรุ่นและจากคนที่เบื่อหน่ายชีวิตจริงของตนเอง  เรื่องของลักษมีได้รับการถ่ายทำภาพยนตรืหลายเรื่อง เธอเป็นผู้ที่ก้าวหน้าในด้านชื่อเสียงอย่างแท้จริง

             ส่วนวีณาไปสมัครทำงานกับชาวต่างชาติ  เธอเปลี่ยนงานบ่อยมาก จากบริษัทการค้าย้ายไปบริษัทการบิน  จากบริษัทการบินย้ายไปประจำองค์การต่างประเทศ  เขามีรายด้ายงามจากงานที่ทำและสะสมเงินไว้ได้มากมายสมดั่งใจที่ตั้งไว้
        สำหรับข้าพเจ้า   ก็ได้เลือกงานครูมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งบัดนี้ในด้านการเงินข้าพเจ้าไม่อาจเทียบกับทั้งสองได้  ในด้านชื่อเสียงก็ไม่มีใครรู้ แต่วิชาความรู้ข้าพเจ้าได้พากเพียรศึกษาต่อจนได้ปริญญาสูงขึ้น   สมบัติของข้าพเจ้าจึงมีเพียงงานวิจัย  ซึ่งตนเองไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจัดพิมพ์ได้  แต่อย่างไรก็ตาม  ความรู้ของข้าพเจ้าเป็นที่ยอมรับว่าใช้การได้  ทุกๆปีจะได้รับเลือกเป็นเจ้าหน้าที่แผนกการข่าวสารต่างประเทศ   ทุกครั้งมีการประชุมใหญ่จะมีชาวต่างชาติมาจำนวนมาก
       ใครจะก้าวหน้ามากกว่ากัน   ดูเหมือนจะหาคำตอบได้ยากแต่ความก้าวหน้าที่สมบูรณ์ที่สุดก็คงจะได้แก่ชื่อเสียง  เงิน
และ  วิชาความรู้  แต่คนเรามักจะต้องเลือกเอาอย่างเดียว ถ้าโชคดีก็ได้เพียงสองอย่าง  คุณเล่าจะเลือกแบบไหน

ข้อคิดจากเรื่อง
              เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นผลงานเขียนของศุทธินีซึ่งเป็นนามปากกาของศาสตราจารย์กิตติคุณสุทธิลักษณ์  อำพันวงศ์  ในเรื่องนี้ผู้เขียนนำคำว่า ก้าวหน้า  มาเป็นประเด็นเพื่อให้ผู้อ่านวิเคราะห์คามคิดเห็นที่แตกต่างหลายมุมมอง        
              จบเรื่องด้วยการสรุปสาระที่ได้เสนอมาทั้งหมดและกระตุ้นให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อเพื่อตัดสินใจเลือกรูปแบบก้าวหน้าของตนเอง

บทความ
       เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นงานเขียนประเภทบทความ  งานเขียนที่เป็นบทความมีคำเรียกต่างๆ หลายคำ   มีลักษณะต่างกันไป   แต่การแบ่งระหว่างชื่อเรียกงานเขียนลักษณะหนึ่งกับอีกลักษณะหนึ่ง  อาจไม่เด่นชัด     เช่น    
บทความอธิบายกับบทความสารคดี  อาจแยกจากกันไม่ได้เด็ดขาดอย่างไรก็ตาม  งานเขียนบทความ   เป็นงานที่ทุกคนทำได้ไม่ยาก  และเป็นงานที่ควรฝึก  เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนและการทำงาน
            เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นบทความแสดงความคิดเห็น  คือบทความที่ผู้เขียนเสนอความคิดเห็น  เรื่องที่นำมาเขียนเป็นบทความแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องใดก็ได้  เช่น  เรื่องเกี่ยวกับการศึกษา  การทำมาหากิน   ฯลฯบทความที่เป็นคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  วารสารทั่วไป  มักเป็นบทความแสดงความคิดเห็น   ลักษณะและวิธีการเขียนมีหลายแบบแล้วแต่ความถนันของผู้เขียน  เช่น  บางคนชอบเขียนแบบงานสร้างสรรค์เป็นนิทาน  แต่บางคนเขียนแบบเรื่องเล่า   เรื่อง ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นบทความแสดงความคิดเห็นที่นักเรียนอาจใช้เป็นแบบอย่างได้แบบหนึ่ง
การประเมินคุณค่าของบทความ                
          การพิจารณาคุณค่าของบทความ  โดยทั่วไปมักพิจารณาจากจุดมุ่งหมายและการนำเสนอเนื้อหาของบทความนั้นๆ หรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือแก่สังคมส่วนรวม  การประเมินคุณค่าบทความมีหลักเกณฑ์ทั่วไป  ดังนี้
          ๑.มีเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้หรือความคิดอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
          ๒.เสนอข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นความจริง มีหลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้
          ๓.นำเสนอเรื่องราวที่เป็นธรรม การอ้างเหตุผลถูกต้อง
          ๔.แสดงความคิดเห็นและเสนอวิสัยทัศน์ได้อย่างน่าสนใจ
          ๕.ใช้ภาษาถูกต้อง มีความชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย สอดคล้องกับเรื่องราวที่นำเสนอ
          ๖.มีกลวิธีในการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตามอ่าน

        เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า เป็นบทความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ก้าวหน้า โดยมีบุคคล ๓ คน คือ ลักษมี วีณา และตัวผู้เขียนแสดงความคิดเห็นตามมุมมองของตนให้ผู้อ่านได้พิจารณา ความคิดเห็นซึ่งแตกต่างกันนั้น ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของแต่ละคนซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต   การประกอบอาชีพและความสำเร็จในชีวิตของคน
        ลักษมี   ให้ความสำคัญแก่ชื่อเสียงเกียรติยศ ลักษมีจึงมุ่งมั่นแสวงหาแนวทางอันจะทำให้ตนประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ โดยเริ่มจากการเป็นนักเขียนข่าวประจำสำนักพิมพ์หลายแห่ง แล้วพัฒนาตนเองเป็นนักเขียนเรื่องสั้น ในที่สุดก็ประสบคววามสำเร็จเป็นนักเขียนนวนิยายแนวเพ้อฝันเบาสมอง
        วีณา ให้ความสำคัญแก่ความมั่นคงในชีวิต คือ ต้องมีเงินมากๆ ต้องมีอาชีพที่ดีเพื่อให้มีรายได้สูงๆ วีณาเปลี่ยนงานบ่อยมากเพื่อให้ได้งานที่มีรายได้สูงกว่าเดิม ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ มีอาชีพที่มั่นคง และมีรายได้มาก
         ส่วน ตัวผู้เขียน ให้ความสำคัญแก่การได้ทำงานที่ตนรัก มีโอกาสแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เป็นคนทันสมัย  ได้ศึกษาเพิ่มเติมความรู้ในระดับที่สูงขึ้นและมีผลงานเป็นที่ยอมรับของบุคคลในวงการอาชีพของตน                                                                                                         
        บทความเรื่องนี้ นอกจากเนื้อหาสาระดี ให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านแล้ว ยังมีวิธีการเขียนที่น่าสนใจ ชวนอ่าน เพลิดเพลิน ชวนให้ติดตามอ่านแต่ต้นจนจบ  ความก้าวหน้าที่สมบูรณ์แบบที่สุด ก็คือชื่อเสียงเกียรติยศ เงินทอง และวิชาความรู้ โดยทิ้งปริศนาที่เป็นคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านนำไปคิดและตัดสินใจ ผู้เขียนยังบอกอีกว่ายากยิ่งนักที่คนเราจะโชคดีได้ความก้าวหน้าทั้ง ๓ อย่างแต่โดยทั่วไปมักจะเลือกได้เพียงอย่างไดอย่างหนึ่งเท่านั้น                              
ที่มา:  http://www.taeng-m3.blogspot.com